วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สมุนไพรรักษาริดสีดวงทวาร


ลั่นทมขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Evergreen Frangipani, Graveyard Flower, Plumeria obtusa Linn.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

รูปลักษณะ : ลั่นทมขาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 20-32 ซม. ดอกช่อ กระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย มีกลิ่นหอม ผลแห้งเป็นฝักคู่สีม่วงแกมน้ำตาล เมล็ดมีขนสีขาว

สรรพคุณของ ลั่นทมขาว : ฝัก ใช้ฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร

ลั่นทมแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : West Indian Red Jasmine, Plumeria rubar Linn.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

รูปลักษณะ : ลั่นทมแดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 20-25 ซม. ดอกช่อ กระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีแดง เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย มีกลิ่นหอม ผลแห้งเป็นฝักคู่สีม่วงแกมน้ำตาล เมล็ดมีขนสีขาว

สรรพคุณของ ลั่นทมแดง : ฝัก ใช้ฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร เช่นเดียวกับฝักลั่นทมขาว

อัคคีทวาร


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum serratum (Linn.) Moon var.serratum Schau.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ชื่ออื่น : แข้งม้า, แคว้งค่า, ชะรักป่า, หมอกนางต๊ะ, หลัวสามเกียน, ผ้าห้ายห่อคำ, หมักก้านต่อ, หูแวง, ฮังตอ, มักแค้งข่า

รูปลักษณะ : อัคคีทวาร เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 15-20 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วงเข้ม กลีบข้างสี่กลีบสีฟ้าสด รูปค่อนข้างกลม หรือรูปไข่กลับกว้าง เมื่อสุกสีม่วงเข้มหรือดำ

สรรพคุณของ อัคคีทวาร : ใบ ใช้ใบแห้งบดเป็นผง กินแก้ริดสีดวงทวาร ยาพื้นบ้านใช้ใบแห้ง ป่นเป็นผงโรยในถ่านไฟ เอาควันเผารมหัวริดสีดวงทวารให้ยุบ รากและต้น ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น เกลื่อนหัวริดสีดวงทวาร

เพชรสังฆาต


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus quadrangularis Linn.
ชื่อวงศ์ : VITACEAE
ชื่ออื่น : ขั่นข้อ, สันชะควด, สามร้อยต่อ

รูปลักษณะ : เพชรสังฆาต เป็นไม้เลื้อย ลำต้นรูปสี่เหลี่ยมเป็นครีบ ผิวเรียบ มีรอยคอดบริเวณข้อ ใบเดี่ยว ออกข้อละ 1 ใบ บริเวณปลายเถาตรงข้ามใบมีมือเกาะ รูปสามเหลี่ยมหรือรูปไข่ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 4-10 ซม. ขอบใบหยักมน เนื้อใบค่อนข้างหนา ดอกช่อ ออกตรงข้ามใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกด้านนอกสีเขียวแกมเหลือง โคนกลีบมีแถบสีแดง กลีบด้านในสีขาวแกมเขียว ผล เป็นผลสด รูปกลม

สรรพคุณของ เพชรสังฆาต : เถา ใช้เถาสดกินแก้ริดสีดวงทวาร วันละ 1 ปล้องจนครบ 3 วัน โดยหั่นบางๆ ใช้เนื้อมะขามเปียก หรือเนื้อกล้วยสุกหุ้มกลืนทั้งหมด เพราะในเถาสดมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตมาก อาจทำให้คันคอ

หรือ วิธีกินสดๆ
หาว่านเพชรสังฆาต
มะขามเปียกแกะเม็ด
น้ำเปล่าสำหรับดื่ม 1 ขวดใหญ่
ว่านเพชรสังฆาต หาต้นที่แก่จัดคือเขียวเข้มให้ตัดมาแค่3ปล้องใหญ่ แบ่งมา 1 ปล้อง หั่นเป็นชิ้นแบ่งให้ได้5-6 ชิ้น ซอยเล็กน้อยแต่อย่าให้หลุดจากกัน ปั้นมะขามเปียกห่อ
ให้พอคำกลืนเป็นก้อนๆจนกว่าจะหมด 1 ปล้อง
ให้ทานวันละมื้อ ทุกวันจนครบ 3 วันให้หยุด ตอนห่อต้องห่อให้มิดไม่งันจะคันคอให้ระวัง
รอดูอาการ หากยุบไม่หมดให้รอจนครบ10วันค่อยเริ่มใหม่
สัก 3ครั้งมันก็จะยุบพรือฝ่อหายไปเอง
ที่ต้องให้เว้นเพราะตัวยาจะกัดกระเพาะทะลุได้ให้ทานก่อนอาหาร

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ


ควรทานอาหารที่เป็นธรรมชาติ  ปรุงแต่งน้อย เช่น ข้าวซ้อมมือ,ข้าวกล้อง,ธัญพืชต่างๆ อาหารที่มีโปรตีนสูง (โดยเฉพาะจากธัญพืช) วิตามินและเกลือแร่จากธรรมชาติเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายกล้วยก็ช่วยได้เพราะการทานกล้วยช่วยลดอาการเครียด  เพราะอาการเครียดมีผลทำให้เกิดเป็นโรคไทรอยด์ได้ เพราะกล้วยมีสารที่ช่วยลดแล็คติค เอซิด (Lactic Acid)
ควรหลีกเลี่ยง พวก ชา กาแฟ ซึ่งจะทำให้ร่างกายทำงานหนัก เพราะชา กาแฟ มีสารคาเฟอีนกระตุ้นทำให้ร่างกายทำงานหนักมากขึ้น เพราะคนที่เป็นไทรอยด์ สารไทรอยด์ทำงานผิดปกติอยู่แล้ว ร่างกายทำงานหนัก ถ้าเราไปทาน พวกกาแฟ หรือ ชา จะทำให้ร่างกายทำงานหนักไปด้วย ควรหลีกเลี่ยง ควรทาน
พวก ธัญพืชนานาชนิดแทนจะดีกว่า หรือ พวกน้ำสมุนไพร เช่น น้ำขึง,น้ำตะไคร้,ดอกคำฝอย แทน ก็จะช่วยเป็นทั้งยาและเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง สดชื่นได้เป็นอย่างดี
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น  กะหลำปลีดิบ ปลาร้า หน่อไม้ดอง กระถิน โดยเฉพาะปลาร้า ห้ามเด็ดขาด การมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ จะช่วยรักษาสมดุลจิตใจของคนที่ป่วยเป็นโรคไทรอยด์ได้ดี วิธีนี้ช่วยลดความวิตกกังวล และความฟุ้งซ่านได้
โดยเริ่มจากการรู้จักชื่นชมตัวเองและชื่นชมคนรอบข้าง ลองนึกถึงสิ่งดีๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตและรู้จักขอบคุณธรรมชาติควรพูดคุยระบายออกมากับครอบครัว หรือเพื่อนที่รู้ใจ โดยเฉพาะเพื่อนที่มีปัญหาเดียวกัน ซึ่งจะคอยรับฟังและดูแลซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี
หากิจกรรมทำ เช่น การเขียนไดอารี่ วาดภาพ อ่านหนังสือ หรือกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยทำให้จิตใจดีขึ้นกว่าการนั่งจมอยู่กับปัญหา ควรหาอะไรทำเพื่อไม่ให้จิตใจฟุ้งซ่าน ไม่ควรอยู่คนเดียวนาน เพราะจะชอบคิดเฝ้อเจ้อ แล้วจะทำให้เกิดความเครียดและจะส่งผลให้สารไทรอยด์ในตัวเปลี่ยนระดับได้
พยามทำตัวไม่ให้เครียด เพราะการเครียดนี้จะนำมาซึ่งโรคอีกหลายๆโรค หรืออาจจะนั่งสมาธิ จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานช้าลง เช่น ชีพจร การเต้นของหัวใจ การหายใจ ทำให้ปริมาณการใช้ออกซิเจน ตลอดจนการเผาผลาญในเลือดก็มีค่าลดลงเช่นกัน            
โดยคนที่มีระดับกรดแล็คติคมากเกินไป จะส่งผลให้มีอาการเครียด วิตกกังวล จนถึงขึ้นตื่นตระหนกทีเดียว และเมื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมองก็จะพบว่ามีคลื่นอัลฟ่า (Alfa Wave) ในสมองเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเป็นคลื่นที่ส่งผลทำให้จิตใจสงบ เพราะในสมองของคนเรามีสารสื่อประสาทหรือสารเคมีอยู่มากมาย หากสารบางอย่างลดน้อยหรือเพิ่มมากเกินไป ย่อมทำให้ระบบเสียสมดุล จนแสดงออกมาเป็นความผิดปกติต่างๆ ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ถ้า"ซีโรโตนิน" ลดน้อยลง คนนั้นจะมีอาการซึมเศร้า หดหู่ หรือถ้ามี "เอ็ปเป็บนิซิน" หรือ "นอร์เป็บนิซิน" มากเกินไป ก็จะมีอาการเครียด วิตกกังวล
การนั่งสมาธิจึงมีบทบาทอย่างหนึ่งในการช่วยปรับให้สารสื่อประสาทเหล่า นั้นกลับเข้าสู่ภาวะสมดุล และทำงานเป็นระบบ นอกจากนี้ สารเอ็นโดรฟินซึ่งเปรียบได้กับฝิ่นที่มีอยู่ในคนเรานั้นเอง ที่จะหลั่งออกมาเมื่อนั่งสมาธิได้ถึงระดับหนึ่ง ก็ยิ่งทำให้จิตใจเราเป็นสุข รู้สึกปีติ อิ่มเอิบ จึงคลายเครียดได้ดีร้อยเปอร์เซ็นต์

สาเหตุการเกิดโรคไทรอยด์


สาเหตุการเกิดโรคไทรอยด์

ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ Hypothyroidism
หลายคนยังสงสัยว่า แล้วถ้าฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำเกินไปจะมีอาการอย่างไร หรือรักษาอย่างไร เลยมาเล่าให้ฟังต่อค่ะ

ภาวะฮอร์โมนไทรอยต่ำ เกิดขึ้นเนื่องจากต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ คือไม่สามารถสร้างฮอร์โมนออกมาได้เพียงพอต่อการทำงานของร่างกาย  สาเหตุที่พบบ่อยคือโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่าง autoimmune การผ่าตัดไทรอยด์ออก หรือการได้รับการรักษาด้วยการฉายแสง

อาการ
 เมื่อระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำเกินไป จะทำให้กระบวนการต่าง ๆ เซลล์ของร่างกายทำงานช้าลง อาการที่จะรู้สึกได้คือ รู้สึกหนาวได้ง่าย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ผิวหนังแห้งกว่าปกติ ผมแห้ง รู้สึกซึม ขี้หลงขี้ลืม มีอาการท้องผูก เนื่องจากอาการที่พบได้มีค่อนข้างหลากหลายดังนั้น วิธีการที่จะทำให้รู้แน่ว่าเป็นหรือไม่ คือการตรวจเลือด

โรคของไทรอยด์มักจะมีเรื่องพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง หากทราบว่ามีคนในครอบครัวเป็นไทรอยด์ คุณก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น หรือถ้าคุณเป็นคนแรกในครอบครัว คนอื่น ๆ ถ้ามีอาการผิดปกติควรทำการตรวจเลือดด้วยเช่นกัน

การตรวจเบื้องต้นจะทำการตรวจโดย การเจาะเลือด TSH โดยควรทำการตรวจคัดกรองทุกปี โดยเฉพาะถ้าอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
การดูแลรักษาระยะยาวเป็นเรื่องที่จะต้องยอมรับ เพราะไทรอยด์ต่ำยังไม่มีทางรักษาให้หายได้ ยกเว้นว่าสาเหตุที่เป็นมาจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ Thyroiditis ซึ่งกลุ่มนี้สามารถหายกลับเป็นปกติได้
การรักษาที่ต้องทำคือการได้รับฮอร์โมนไทรอยด์ Thyroxine ทดแทนไปตลอดชีวิต อาจจะต้องมีการปรับยาบ้างหากระดับฮอร์โมนในร่างกายสูงหรือต่ำไป จึงต้องติดตามตรวจเลือดเป็นประจำ
เมื่อคุณทานยาอย่างต่อเนื่องและระดับไทรอยด์ฮอร์โมนในร่างกายเป็นปรกติ อาการต่าง ๆ ที่เป็นก็จะหายไป และไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ คุณจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

สาเหตุ
 สาเหตุที่ทำให้ไทรอยด์ทำงานได้น้อยกว่าปกติมีได้หลายอย่าง แต่ที่พบได้บ่อยได้แก่
  • โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน Autoimmune
            ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย อาจจะไวเกินทำให้รับรู้ว่าเซลล์ต่อมไทรอยด์เป็นสิ่งแปลกปลอม และทำให้มีการทำลายเซลล์ไทรอยด์โดยภูมิคุ้มกันของร่างกายเอง จนทำให้การผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้หญิง  การเกิดโรคอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือ อาจจะค่อย ๆ มีอาการทีละน้อยก็ได้ ที่พบมากในกลุ่มนี้เรียกว่า Hashimoto’s thyroiditis 
  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์
ผู้ที่เคยมีก้อนหรือมะเร็งต่อมไทรอยด์ หรือผู้ที่เคยเป็นไทรอยด์เป็นพิษ และได้รับการรักษาด้วยการตัดต่อมไทรอยด์ออก ก็จะทำให้ร่างกายขาดฮอร์โมนไทรอยด์ จำเป็นต้องได้รับทดแทนไปตลอดชีวิต 
  • การได้รับการรักษาด้วยการรังสี
ในผู้ป่วยไทรอยด์ ที่ได้รับการรักษาโดยการกลืนแร่รังสีไอโอดีน I-131 เพื่อทำลายเซลล์ไทรอยด์ ก็จะมีอาการเช่นเดียวกับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกไป 
  • ภาวะไทรอยด์ต่ำแต่กำเนิด Congenital hypothyroidism
พบว่าเด็ก 1 ใน 4000 คน อาจจะเกิดมาพร้อมกับต่อมไทรอยด์ที่ไม่สมบูรณ์หรือเจริญผิดที่ จะทำให้มีอาการเช่นเดียวกัน ทำให้เสี่ยงที่เกิดภาวะปัญญาอ่อนได้ 
  • การอักเสบของต่อมไทรอยด์
อาจจะเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัส หรือภูมิของร่างกายเองก็ได้ ที่ทำให้มีการอักเสบชองต่อมไทรอยด์ ในช่วงแรกอาจจะมีฮอร์โมนไทรอยด์สูงกว่าปกติเป็นชั่วเวลาสั้น ๆ และตามมาด้วยฮอร์โมนที่ต่ำกว่าปกติในระยะยาว 
  • การได้รับยาบางชนิด
ยา amiodarone, lithium, interferon alpha, and interleukin-2 จะรบกวนการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีประวัติโรคไทรอยด์ในครอบครัว หลังจากได้ยาเหล่านี้แล้วจะมีโอกาสเกิดไทรอยด์ต่ำได้ง่าย 
  • การได้รับ iodine มากหรือน้อยเกินไป
Iodine   มีส่วนสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ โดยปกติจะได้รับจากอาหาร และเข้าสู่กระแสเลือดไปยังต่อมไทรอยด์ หากมีระดับไม่ได้สมดุล อาจจะทำให้เกิดภาวะ ไทรอยด์ต่ำได้ 
  • ต่อมใต้สมอง pituitary gland ถูกทำลาย
หน้าที่ของต่อมใต้สมองคือสร้าง hormone TSH ไปสั่งให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมา หากมีความเสียหายจากเนื้องอก รังสี หรือการผ่าตัด ก็จะทำให้การผลิตฮอร์โมนต่ำกว่าปกติได้

การวินิจฉัย
หากมีอาการที่กล่าวข้างต้น หรือมีประวัติโรคไทรอยด์ หรือการผ่าตัด ได้รับรังสี หรือยา ที่เกี่ยวข้อง ควรพบแพทย์ โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกายดูลักษณะที่เข้ากับโรคไทรอยด์เช่น ตัวบวม ผิวแห้ง การเต้นของหัวใจ การตอบสนองของระบบประสาทช้ากว่าปกติ
หากมีอาการที่ทำให้สงสัยว่าเป็นไทรอยด์ต่ำ แพทย์จะทำการตรวจเลือด โดยจะทำการตรวจสองอย่างได้แก่
TSH (thyroid-stimulating hormone) test เป็นการตรวจที่สำคัญและแม่นยำในการวินิจฉัยไทรอยด์ต่ำ ฮอร์โมน TSH ถูกสร้างจากต่อมใต้สมองเพื่อไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนขึ้น หากว่าระดับไทรอยด์ในเลือดต่ำ ต่อมใต้สมองจะผลิต TSH ออกมามากขึ้นเพื่อไปสั่งให้ไทรอยด์ทำงานมากขึ้น เมื่อตรวจเลือดจึงพบว่ามี TSH สูงกว่าปกติ
T4 tests เป็นฮอร์โมนไทรอยด์ที่สร้างขึ้นจากต่อมไทรอยด์ ภาวะที่ไทรอยด์ต่ำก็คือภาวะที่ระดับ Free T4 ในเลือดต่ำกว่าปกตินั่นเอง

การรักษา
 ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้โดยการให้ฮอร์โมนไทรอยด์ชนิดรับประทานเข้าไปทดแทน เพื่อให้ระดับ ฮอร์โมน T4 ในเลือดสูงขึ้น จนทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ
ผลข้างเคียง
ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง นอกเหนือไปจากระดับฮอร์โมนต่ำหรือสูงเกินไป ถ้าต่ำเกินไปคือได้ยาน้อยเกินไป ก็จะทำให้ยังมีอาการแบบเดิมต่อไป แต่ถ้ามากเกินไปก็จะมีอาการเหมือนไทรอยด์เป็นพิษ คือมีใจสั่น เหนื่อยง่าย มือสั่น น้ำหนักลด นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
เพื่อป้องกันผลข้างเคียงเหล่านี้จึงต้องสังเกตอาการและติดตามตรวจเลือดเป็นประจำ

การติดตามตรวจ
 สำหรับผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 50 ปี ควรทำการตรวจ TSH เป็นประจำทุกปี
ผู้ป่วยที่มีไทรอยด์ต่ำควรจะต้องตรวจเลือดดูระดับ TSH และ Free T4 ทุก 6-12 เดือน แต่หากว่ามีอาการต่อไปนี้ควรจะต้องไปตรวจเลือดกับแพทย์ทันที
  • อาการที่เคยเป็นแย่ลงหรือกลับมาเป็นอีกครั้ง
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดปกติ
  • จำเป็นต้องทานยาที่อาจจะมีผลต่อการดูดซึมของยาไทรอยด์

หากมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าเป็น ควรตรวจเลือด
และสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ควรตรวจเลือดดูระดับ TSH ทุกปีนะค่ะ




ไทรอยด์


ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (อาหารและสุขภาพ)
         Amilee Christine Huges ค้นพบว่าการทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์อาจมีสาเหตุบางอย่างซ่อนเร้นอยู่จนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม, อารมณ์เสีย และเหนื่อยอ่อน อย่างหาสาเหตุไม่ได้
         ต่อมไทรอยด์ของคุณมีขนาดเล็กนิดเดียว-มีน้ำหนักแค่ราว ๆ 30 กรัม แต่มันเป็นหนึ่งในต่อมไร้ท่อที่สำคัญที่สุดในร่างกาย ต่อมนี้อยู่ที่บริเวณคอข้างใต้ลูกกระเดือก มีรูปร่างเหมือนผีเสื้อ ควบคุมเมตาโบลิซึ่มที่สำคัญหลายอย่าง รวมไปถึงความเร็วในการเผาผลาญพลังงาน, อัตราการเต้นของหัวใจ, และการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ
         ประมาณกันว่าชาวออสเตรเลียสองล้านคนอาจเป็นโรคเกี่ยวกับไทรอยด์ แต่มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนั้นยังไม่ได้รับการวินิจฉัย แต่อาการของต่อมไทรอยด์มักจะทำให้สับสนกับอาการของโรคอื่น ๆ นอกจากนี้บางทีการทดสอบก็ให้ผลที่ไม่แน่นอน จนเมื่อเร็ว ๆ นี้เองที่อาการต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติในระดับ "ต่ำกว่าปกติเพียงเล็กน้อยจนไร้อาการ" (Subclinical) ก็เพิ่งจะมาถือกันว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว เรื่องนี้นับว่าสำคัญมาก เพราะแม้จะเป็นสภาพผิดปกติเพียงเล็กน้อยจนไม่แสดงอาการออกมาก็อาจมีความเกี่ยวพันกับความผิดปกติอื่น ๆ เช่นโรคหัวใจได้เช่นกัน

ช้าลง-เร็วขึ้น
        อาการผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่พบได้บ่อยกว่าก็คือ "ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ (hypothyroidism)" คือการขาดฮอร์โมนต่อมไทรอยด์อันเนื่องมาจากการทำงานของไทรอยด์ต่ำ หรือไม่มีต่อมไทรอยด์ สาเหตุอาจเนื่องมาจากไทรอยด์อักเสบแบบ Hashimoto’s thyroiditis ซึ่งเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disorder) ชนิดหนึ่ง ซึ่งในตอนแรกจะไปทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ แล้วจากนั้นก็จะทำงานต่ำลงกว่าปกติเพราะต่อมถูกทำลาย เป็นผลให้ฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ถูกผลิตขึ้นมาไม่เพียงพอ
        
โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ Hashimoto นี้พบได้มากที่สุดในสตรีวัยกลางคน มีแนวโน้มที่จะเป็นติดต่อทางสายเลือด แล้วก็พบได้มากในผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ/หรือ โรค coeliac disease (โรคแพ้ภูมิตัวเองและไปมีผลต่อลำไส้เล็ก) โรคไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกตินี้ยังอาจมีสาเหตุมาจากไทรอยด์อักเสบหลังการมีบุตร ซึ่งมารดาที่เพิ่งมีบุตรคนแรกอาจมีอาการนี้โดยในตอนแรกต่อมไทรอยด์เกิดการอักเสบก่อนแล้วทำงานมากกว่าปกติ ตามด้วยการทำงานต่ำกว่าปกติ
        ในทางตรงกันข้าม ไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ (hyperthyroidism) เกิดจากความผิดปกติที่ทำให้เนื้อเยื่อไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ ทำให้มีการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ขึ้นมามาก โรคนี้มีคนเป็นน้อยกว่าไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ แต่ก็สร้างปัญหาได้พอ ๆ กัน เป็นสาเหตุทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวแบบเลือดคั่ง (congestive heart failure) ,โรคกระดูกพรุน, และเกิดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานเต็มขั้น และมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคคอพอกตาโปน (Graves’disease) หากคิดว่าตัวคุณมีปัญหากับต่อมไทรอยด์ ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด ในขณะที่อาการไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติอาจต้องการการรักษาด้วยฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ แต่ธรรมชาติบำบัดก็ช่วยจัดการดูแลให้ได้ และเป็นไปได้จะลดการใช้ยาลงวิธีการธรรมชาติยังใช้กับโรคไทรอยด์ทำงานสูงกว่าปกติได้ด้วย โดย

1. รับประทานธัญพืช
        ทดแทนผลิตภัณฑ์จากแป้งขัดขาวด้วย ธัญพืชขัดสีน้อยที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (complex carbohydrates) เช่น quinoa, ข้าวกล้อง, บาร์ลีย์, ข้าวโอ๊ต, บั๊ควีท, ข้าวสาลี bulghur, ข้าวสาลีกับแป้งสเปลท์ (หมายเหตุ: โรคไทรอยด์ทำงานต่ำผิดปกติบางครั้งเกิดจากการแพ้กลูเต็น และกลูเต็นพบได้ในข้าวสาลี, บาร์ลีย์, และข้าวไรย์-ถ้าสงสัยว่าตัวคุณจะแพ้หรือไม่ก็ให้ไปตรวจเสีย) ให้ทดแทนน้ำตาลขาวด้วยสารให้ความหวานจากธรรมชาติ เช่น เมเปิ้ลไซรัป, น้ำผึ้ง, และ มอลลาส

2. เลิกไขมันที่เลว

        หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ให้รับประทานอาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 เช่น ปลาแซลม่อน, ปลาแมคตเคอเรล, ปลาซาร์ดีน, วอลนัท, เมล็ดแฟล็กซ์ และน้ำมันที่ดี (มะพร้าว, น้ำมันมะกอกชนิดเอ็กตร้าเวอร์จิน, เมล็ดองุ่น, อะโวคาโด้) เพื่อปรับสภาพอารมณ์ และเมตาโบลิซึ่ม และปกป้องหัวใจ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนได้รับผลกระทบจากการทำงานที่ปกติของต่อมไทรอยด์; คาดว่าสาร gamma-oryzanol ซึ่งพบในน้ำมันรำข้าว เป็นสารที่ช่วยเร่งการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์

3. หลีกเลี่ยงการยับยั้งการดูดซึมไอโอดีน (Goitrogens)

        พวกนี้เป็นสารที่พบได้ในอาหารที่รบกวนการผลิตฮอร์โมนต่อมไทรอยด์โดยทำให้ปริมาณไอโอดีนในร่างกายลดลง อาหารเหล่านี้ได้แก่ผักตระกูลกะหล่ำ (เช่น บร็อคโคลี่, ผักกาด, ผักกาดใบหยิก (kale), กะหล่ำดาว (brussel sprouts), สตรอเบอรี่, ถั่วลิสง, พืช, ข้าวฟ่าง, แรดิช, และผักพวยเล้ง เนื่องจากความร้อนสามารถทำลาย goitorgens ได้ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเหล่านี้แบบดิบๆ; ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ป่วยด้วยโรคไทรอยด์ทำงานมากเกินไปก็ควรรับประทานอาหารเหล่านี้แบบดิบๆ รูปแบบบางอย่างของถั่วเหลืองก็คาดว่ามีคุณสมบัติ goitrogenic เช่นกัน เช่น ถั่วเหลืองหมักอย่างเช่น เทมเป้ ดูจะมีคุณสมบัติอย่างนี้มากกว่าถั่วที่นำมาต้มให้สุก

4. เพิ่มความช่วยเหลือจากสมุนไพร
        การควบคุมการทำงานของต่อมอะดรีนัล อาจเป็นประโยชน์ต่อต่อมไทรอยด์รับประทานสมุนไพร ashwagandha (วันละ 50 ม.ก.), ชะเอมเทศหรือ licorice (วันละ 400 ม.ก.), rhodiola (วันละ 200 ม.ก.), และโสมไซบีเรีย หรือ Siberian ginseng (วันละ 450 ม.ก.)

5. อาหารเสริม

        แร่ธาตุซีเลเนียม และสังกะสี ช่วยสุขภาพการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้รับประทานซีเลเนียม วันละ 50-100 ไมโครกรัม และสังกะสีวันละ 10-15 มิลลิกรัม ไวตามินเอ, ซี, และอี ช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์-ให้รับประทานไวตามิน เอ วันละ 2,000-4,000 หน่วยสากล (IU), ไวตามิน ซี วันละ 750-1,000 ม.ก., และไวตามิน อี วัน 200 หน่วยสากล ส่วนกลุ่มของไวตามิน บีโดยเฉพาะไวตามิน บี 1, บี 6, บี 12, และฟอลิค แอซิด
         ทั้งหมดนี้ช่วยป้องกันในเรื่องอารมณ์ และปัญหาในความคิดความอ่าน ซึ่งมักจะเกิดตามมาจากโรคไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ ไวตามิน ดี 3 ก็มีความจำเป็นเช่นกัน เนื่องจากคนจำนวนมากที่ป่วยด้วยไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ มักจะมีการขาดไวตามิน ดี น้ำมันปลาก็เป็นแห่งของกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งช่วยป้องกันหัวใจและสมอง ผักที่ได้จากทะเลเช่นสาหร่ายทะเล และสไปรูไลน่าก็เป็นแหล่งไอโอดีนที่ดี ซึ่งการขาดธาตุนี้นำไปสู่การทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หากคุณไม่ชอบพืชจากทะเลก็สามารถรับประทานอาหารเสริมไอโอดีนชนิดเม็ด โดยแนะนำให้รับประทานวันละ 150-250 ไมโครกรัม ปริมาณนี้ถือว่าช่วยสุขภาพของต่อมไทรอยด์ ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม หากได้รับไอโอดีนมากเกินไป ก็จะยิ่งทำให้ปัญหาของไทรอยด์แย่ลงไปอีก ดังนั้นให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อหาปริมาณที่เจาะจงสำหรับท่าน

สัญญาณของไทรอยด์ผิดปกติ
ไทรอยด์ทำงานต่ำผิดปกติ (Hypothyroidism)
•    อารมณ์-หดหู่, สมาธิไม่ดี, เหนื่อยอ่อน
•    เส้นผมและผิวหนัง-ผมร่วง (โดยเฉพาะหางคิ้ว), ผิวแห้ง
•    หัวใจ-โคเลสเตอรอลสูง
•    ร่างกาย-น้ำหนักเพิ่ม, กล้ามเนื้ออ่อนแอ, เจ็บตามข้อ, บวมน้ำ (โดยเฉพาะที่มือและเท้า),
เสียงแหบ, มีความรู้สึกไวต่อความเย็น
•    ระบบย่อยอาหาร-ท้องผูก
•    ระบบสืบพันธุ์-ความรู้สึกทางเพศต่ำ, รอบเดือนมามากผิดปกติ

ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ (Hyperthyroidism)
•    อารมณ์-กังวล, ฉุนเฉียว, นอนไม่หลับ
•    เส้นผมและผิวหนัง-เหงื่อออกมากขึ้น
•    หัวใจ-เต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ
•    ร่างกาย-น้ำหนักตัวลด, ตาโปน, ระคายเคืองนัยน์ตา, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, มือ และนิ้วสั่น
·          ระบบย่อยอาหาร-ท้องเสีย, รู้สึกหิวบ่อยขึ้น
·          ระบบสืบพันธุ์-มักจะมีรอบเดือนมาน้อย

ล้างพิษและผ่อนคลาย
         
กระฉับกระเฉง
          การออกกำลังช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น, สุขภาพของหัวใจและเมตาโบลิซึ่ม แข็งแรง, ลดความเครียด, และเผาผลาญฮอร์โมนอะดรีนัลส่วนเกินออกไป ท่าบริหารโยคะบางอย่างเช่นยืนบนไหล่และ Camel pose ช่วยกระตุ้นต่อมไทรอยด์

         
ล้างสารพิษ
          สารเคมีและสารพิษจากสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารเป็นผลร้ายต่อมไทรอยด์ได้ อาจให้ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติบำบัดช่วยดูแลการล้างพิษและทำความสะอาดระบบตับให้คุณเป็นเวลาสองสัปดาห์
ทำให้เหงื่อออก ทำซาวน่าเป็นประจำเพื่อให้เหงื่อนำเอาโลหะหนักออกไป หรือในการอาบน้ำล้างพิษที่บ้าน ให้ใช้ Epsom salt (เกลือแมกนีเซียมซัลเฟต หรือดีเกลือฝรั่ง) 1-2 ถ้วย, โซดาไบคาร์บอเนท (ผงฟู) 250 กรัม และน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์ 5-10 หยดผสมลงไปในน้ำร้อนที่ใช้อาบ แล้วแช่ในน้ำนี้ 15-20 นาที

         
ใช้เครื่องกรองน้ำ
          โลหะหนัก, คลอรีน, และฟลูออไรด์ที่พบในน้ำที่ไม่ผ่านการกรองอาจรบกวนการดูดซึมไอโอดีนได้

         
ทำอารมณ์ให้เย็น
          ทั้งการทำสมาธิ, บริหารการหายใจ, และการบำบัดด้วยกลิ่นหอม เหล่านี้ช่วยลดความเครียดของอะดรีนัล รักษาตัวเองด้วยการนวดอย่างสม่ำเสมอและนอนหลับคืนละแปดชั่วโมง ออกเดินเล่นเป็นระยะทางไกล ๆ ท่ามกลางธรรมชาติ, อ่านหนังสือที่มีประโยชน์, และให้เวลากับตัวเองทุก ๆ วัน

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โดสเร่งขาวคืออะไร

โดสเร่งขาวคืออะไร

สงสัยกันหรือไม่ว่าโดสเร่งขาวที่กำลังฮอตฮิตในขณะทำมาจากอะไร มาหาคำตอบกัน

โดสเร่งขาว ที่ว่านี้ก็คือ AHA 70% ผสมกับน้ำกลั่นสะอาด
สรรพคุณของ AHA ก็คือ การช่วยผลัดเซลล์ผิว ถ้าเราใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มี AHA ผสมอยู่แล้ว เช่น พวกโลชั่นบำรุงผิวหน้าต่างๆ ซึ่งการใช้ AHA กับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า หรือผิวกายทั่วไปจะมีส่วนผสมของ AHA อยู่แค่ประมาณ 5-10% เท่านั้นเอง เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพผิว
        ซึ่ง โดสเร่งขาว อาจจะช่วยผลัดเซลล์ผิว หรือทำให้ผิวขาวได้บ้าง แต่ก็คงไม่ได้เร่งให้ขาวอะไรมากมาย
แต่ข้อเสียของมันก็มีซึ่งเป็นข้อเสียของตัว AHA ทั่วไปอยู่แล้ว คือ เมื่อเซลล์ของเราบางลง ผลเสียตามมาก็คือ ผิวเราจะไวต่อแสงแดด ค่ะ ก็ควรจะใช้ผลิตภัณฑ์จำพวก AHA นี้ ควบคู่กับ ครีมกันแดด ด้วย ก็จะดีมาก

AHA ย่อมาจากคำว่า alpha hydroxyl acid หมายถึงสารประกอบที่มีฤทธิ์เป็นกรด เป็นสารที่ผลิตจากผลไม้ธรรมชาติ เช่น กรด ซิตริกจากมะนาว ส้ม และส้มโอ กรดมัลลิกจากแอปเปิ้ล กรดไกลโคลิกจากอ้อย กรดแล็กติก จากนมเปรี้ยว กรดทาลิกจากมะขาวและไวน์ ง่ายๆ ก็คือ เป็นกรดของผลไม้ ที่สกัดได้จากผลไม้รสเปรี้ยว ส่วนใหญ่ใช้ทาสิว ใช้ลดรอยแดงของสิว ใช้ผลัดเซลล์ผิว

แก้ปัญหา ไวรัสซ่อน Folder แล้วสร้าง shortcut ใน FlashDrive

หลายคนคงเคยเจอกับปัญหาแบบนี้ ที่อยู่ดีๆ folder ใน Flash Drive หายไปหมด!! แต่ไฟล์อื่นๆดันอยู่ครบ หรือ ทุกอย่างปกติ
แต่ไอ้เจ้า folder ที่ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ ดันกลายเป็น .exe หมดเลย!! แล้วก็จะมีคำถามตามมาว่า “ทำไงดีเนี้ย งานอยู่ในนั้นหมดเลย ตาย…ล่ะทีนี้”
ถ้าท่านที่เจอปัญหาแบบนี้นะคะ ให้ทำใจ…… ใจเย็นๆค่ะ ข้อมูลยังอยู่ค่ะ เพียงแค่มีไวรัสบางตัวเอามันไปซ่อนไว้ค่ะ และเราจะพาเอามากลับมา เริ่มแรกมารู้จักก่อนว่ามันคืออะไรและติดมาได้ยังไง
ไวรัสตัวนี้มีชื่อว่า “ไวรัส ซ่อนไฟล์ ให้เป็น system และสร้าง shortcut” อันนี้เราตั้งเองค่ะ แต่หลายๆ ที่มีชื่อที่แตกกันค่ะทั้ง VBS Worm,VBSRunauto,VBS/Yuyun A หรือ malware DR/Agent.JP.4, TOEUW.EXE Virus/Malware เอาไว้ชัดเจนเมื่อไหร่จะมาบอกอีกทีนค่ะ
อาการของมัน ไวรัสตัวนี้ติดง่ายๆเลยค่ะ เพียงแค่ท่านเอา Flash Drive ไปเสียเครื่องที่ติดไวรัสอยู่แล้ว และเมื่อท่านเปิด Flash Drive ก็จะติดทันที
โดยอาการที่ติดจะเป็นแบบนี้ค่ะ ดัง ที่เห็นในภาพนะคะไวรัสจะซ่อน folder ไว้แล้ว สร้าง shortcut ชื่อเดียวกันกับ folder นั้นๆขึ้นมา เปรียบเทียบได้จากภาพ ซ้ายและขวา ในภาพซ้ายเป็นมุมมองปกติ ภาพขวาเป็นมุมมองแสดง folder จริงๆของเราที่ถูกซ่อนไว้พอไปคลิกที่ folder นั้นก็จะเป็นการรัน ไฟล์ไวรัส ที่ลิ้งค์ไปให้ทำงาน ดังในรูปนี้แสดงถึงว่า shortcut ไปที่ไฟล์ไวรัส พอ เราคลิกรันไปแล้ว ไวรัสก็จะทำงาน ถ้าเครื่องที่มี anti virus ก็ pop up ขึ้นมาเตือนแน่นอนค่ะ
ส่วนเครื่องที่ไม่มีหรือมีแต่ไม่ update ก็ติดแน่ๆค่ะ วิธีแก้เบื้องต้นก่อนนะคะ สำหรับ flash drive ที่โดนมาจากที่อื่นคือ folder ถูกซ่อนไว้หาไม่เจอ เอากลับมาไม่ได้นะคะ แต่คอมพิวเตอร์ไม่ได้ติดไวรัสตัวนี้ไปด้วย
1. หลังจากเสียบ flashdrive แล้วไปที่ Start-> เลือก Run แล้วพิมพ์ว่า cmd จะได้หน้าต่างสีดำๆขึ้นมาเรียกว่า command prompt ดังในรูป
 2. 2. หลังจากนั้นไปสำรวจว่า Flash drive เราอยู่ drive ไหน ของเราอยู่ใน Drive G นะคะ ได้แล้วให้พิมพ์ drive นั้น ลงไปเลยเช่น D: E: F: แล้วแต่คนนะคะ พอพิมพ์ drive ลงไป จะขึ้นแบบนี้ค่ะ G:\> แล้ว ให้พิมพ์คำสั่งตามนี้ค่ะ dir แล้ว enter คือคำสั่ง dir ย่อมาจาก directory หมายถึง แสดง file และ folder อยู่อยู่ใน drive G ส่วนรูปล่าง คำสั่ง dir /ah ก็คล้่ายๆกันแต่ต่างกันตรงมี /ah เพิ่มขึ้นมาโดยหมายถึง ให้แสดงเฉพาะ file และ folder ที่ถูกซ่อนอยู่ (hidden) ซึ่งทีนี้เราก็จะเห็นแล้วว่า folder เก็บงานเราไม่ได้หายไำปไหน ยังอยู่ครบเพียงแต่ถูกซ่อนไว้ และ ทำให้สถานะเป็น system file ต่อไปเป็นการทำให้กลับมา โดยพิมพ์ต่อใน command prompt เลย ให้พิมพ์ว่า attrib -s -h -r /s /d ดังในรูป

 ขอ อธิบายความหมายของคำสั่งก่อนนะคะ attrib นั้นมาจากคำว่า Attribute แปลว่าคุณลักษณะ เป็นคำสั่งจัดการกับลักษณะหรือประเภทไฟล์ต่อมา -s -h -r เป็นการระบุประเภทของไฟล์ นั้นๆ โดย R(Read-Only) H(Hidden File) S(System File) ส่วน /s /d หมายถึงทุก file และ ทุกๆ folder รวมถึง sub folder คือ folder ย่อยๆนั้นเอง พอทราบความหมายแล้วมาดูผลการทำงานกัน พิมพ์ attrib -s -h -r /s /d แล้ว Enter ได้เลยค่ะหลังจาก enter จะมีการทำงานแว็บหนึ่ง มาดูผลการทำงานกันโดยใช้คำสั่งเดิม คือ dir /ah ผลที่ได้คือไม่มี file หรือ folder ที่ถูก ซ่อนไว้เลยดังในภาพ คราวนี้ไปดูใน Flash drive กันว่าเป็นยังไงบ้าง ผลที่ได้ึืคือได้ folder ต่างๆกลับมารวมทั้งเจอ ไฟล์เจ้าปัญหา คือไฟล์ไวรัส ดังในรูป

ต่อไปก็ลบไฟล์ที่เป็น shortcut ไฟล์ไวรัส รวมถึง autorun.inf ทิ้่งให้หมด แค่นี้ก็หมดปัญหาค่ะ สรุปง่ายๆ สำหรับ flash drive ที่เกิดปัญหา Folder ถูกซ่อนแล้วสร้าง shortcut ปลอมขึ้นมา ดังนี้
1. เสียบ flash drive แล้วดูว่าอยู่ drive ไหน
2. ไปที่ start->run พิมพ์ cmd
3. พิมพ์คำสั่งใน cmd เป็นชื่อ drive ของ flash drive เราเช่น E: หรือ F: แล้ว enter ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ drive ของเรา 4. พิมพ์ attrib -s -h -r /s /d แล้ว กด enter
5. ไปลบไฟล์ shortcut ไฟล์ ไวรัสที่เป็น exe ที่เราไม่รู้จัก รวมทั้ง autorun.inf ก็เรียบร้อยค่ะ ส่วนสำหรับเครื่องที่ติดไวรัสตัวนี้จะมาเขียนวิธีแก้อีกครั้งนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คำค้นยอดนิยม 2012

กูเกิล เผยอันดับคำค้นสุดฮิตของไทย ประจำปี 2012

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม เว็บไซต์กูเกิล บริษัทเสิร์ชเอ็นจินหมายเลขหนึ่งของโลก ได้เปิดเผยผลการจัดอันดับเทรนด์คำค้นหามาแรงที่มีการเสิร์ชมากที่สุดตลอดปี 2012 (พ.ศ. 2555) ของแต่ละประเทศ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่าคนสนใจอะไร และอะไรที่กำลังมาแรง สามารถบ่งบอกวิถีชีวิตของคนที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงอะไรคือแนวโน้มต่อไปที่จะเกิดขึ้นในอนาคตผ่านการค้นหาบนกูเกิล โดยคำค้นดาวรุ่งพุ่งแรงแห่งปี อันดับหนึ่ง คือ 4Shared เว็บไซต์แชร์เพลงที่ใหญ่ที่สุด ณ ตอนนี้

 เอาล่ะ...ลองมาดูกันว่า คำค้นหายอดนิยมของไทยประจำปี 2012 แต่ละหมวดมีอะไรกันบ้าง

หมวดคำค้นหาสุดฮิต
1. 4Shared
2. แรงเงา
3. Simsimi
4. Gangnam Style
5. วินาทีเดียวเท่านั้น
6. ร่มสีเทา
7. ปิ่นอนงค์
8. Dragon Nest
9. Kizi
10. บ่วง
หมวดบุคคล
1. ครูอังคณา
2. งานแต่งวุ้นเส้น
3. ญาญ่า
4. ณเดช
5. ทับทิม
6. หลวงปู่ทวด
7. โมเมพาเพลิน
8. หลวงพ่อเงิน
9. snsd
10. แคลช

หมวดเพลง
1. Gangnam Style
2. วินาทีเดียวเท่านั้น
3. ร่มสีเทา
4. จบมั้ย
5. เพลงลูกอม
6. เสียงที่เปลี่ยน
7. คำยินดี
8. แสงสุดท้าย
9. สบายดีไหม
10. โดนของ

หมวดรายการโทรทัศน์
1. แรงเงา
2. ขุนศึก
3. The Voice
4. ลูกผู้ชายไม้ตะพด
5. ทองประกายแสด
6. the star 8
7. ชิงนาง
8. ไฟมาร
9. แฟนพันธุ์แท้
10. หงส์สะบัดลาย
หมวดนักกีฬา
1. วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์
2. อรอุมา
3. ปลื้มจิตร์
4. อัมพร หญ้าผา
5. สอง บุตรี
6. สมจิตร
7. ภัทรพงศ์ ยุพดี
8. ภาคภูมิ สงวนสิน
9. ภุชงค์ สงวนสิน
10. วิทยา ทำว่อง
หมวดกีฬา
1. วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์
2. โอลิมปิก 2012
3. วอลเลย์บอล
4. ประวัตินักกีฬา
5. นักกีฬาโอลิมปิก
6. นักกีฬาแบดมินตัน
7. นักกีฬาปิงปอง
8. นักกีฬาทีมชาติ
9. นักกีฬาบาสเกตบอล
10. สยามกีฬา
หมวดร้านอาหาร
1. ร้านอาหารเชียงใหม่
2. ร้านอาหารสัตหีบ
3. ร้านอาหารโคราช
4. ร้านอาหารสมุทรสาคร
5. ร้านอาหารกรุงเทพ
6. ร้านอาหารหัวหิน
7. ร้านอาหารปราณบุรี
8. ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์
9. ร้านอาหารหรู
10. ร้านอาหารป่า
หมวดอาหาร
1. อาหารอาเซียน
2. อาหารสิงคโปร์
3. อาหารอินโดนีเซีย
4. อาหารมาเลเซีย
5. อาหารญี่ปุ่น
6. อาหารกัมพูชา
7. อาหารบรูไน
8. อาหารลาว
9. อาหารฟิลิปปินส์
10. อาหารพม่า
หมวดภาพยนตร์
1. ปัญญา เรณู 2
2. จันดารา
3. Step Up 4
4. battleship
5. รักเว้ยเอ๊ย (รักเว้ยเฮ้ย)
6. อันธพาล
7. On the Road
8. The Avengers
9. The Hunger Games
10. Prometheus
หมวดที่ท่องเที่ยว
1. เกาะล้าน
2. กาญจนบุรี
3. สวนสยาม
4. สงกรานต์ บุรีรัมย์
5. ทุ่งมะขามหย่อง
6. เทศกาลกินเจ 2555
7. ภูเก็ตเกมส์
8. Titanic
9. วัดท่าไม้
10. วัดบัวขวัญ
หมวดเทคโนโลยี
1. Simsimi
2. Instragram
3. iPhone 4s
4. Line
5. Facebook
6. New iPad
7. Dealfish
8. Google
9. YouTube
10. Samsung Galaxy
หมวดคนดัง
1. งานเเต่งวุ้นเส้น
2. น้องเกล
3. ซัน มาริสา
4. โกวิท วัฒนกุล
5. งานแต่งป๋อ
6. กิ๊ก วารุณี
7. เจน ญาณทิพย์
8. แกงส้ม
9. ธามไท
10. หมาก ปริญ
หมวดข่าว
1. ข่าว ซอมบี้
2. ข่าว บัวขาว
3. ข่าว ซี
4. ข่าว ปลาวาฬ
5. ข่าว กระแต
6. ข่าว ซีเรีย
7. ข่าว ตุ๊กแก
8. ข่าว tara
9. ข่าว โกวิท
10. ข่าว โอลิมปิก
หมวดแบรนด์
1. Mitsubishi Mirage
2. Nissan Sylphy
3. Truemove H
4. GMM Z
5. อิชิตัน
6. Swift
7. Honda CR-Z
8. Prada
9. เชฟโรเลต
10. Louis Vuitton Handbags
หมวดแฟชั่น
1. แฟชั่นเกาหลี
2. แฟชั่นรองเท้า
3. แฟชั่นผู้ชาย
4. แฟชั่นดารา
5. แฟชั่นกระเป๋า
6. แฟชั่นญี่ปุ่น
7. แฟชั่นหมวกแก๊ป
8. แฟชั่นหนวด
9. แฟชั่นเอวลอย
10. แฟชั่นกระโปรงยาว
หมวดเกม
1. Dragon Nest
2. Getprobot
3. c9
4. Ever Planet
5. Bubble Ninja
6. Sword Art Online
7. Minecraft 1.8.1
8. a10
9. Koramgame
10. Forsaken World

**หมายเหตุ : ผลการจัดอันดับดังกล่าวยึดตาม Google Thailand เทรนด์การค้นหา 2012


ขอขอบคุณข้อมูลจาก