วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ


ควรทานอาหารที่เป็นธรรมชาติ  ปรุงแต่งน้อย เช่น ข้าวซ้อมมือ,ข้าวกล้อง,ธัญพืชต่างๆ อาหารที่มีโปรตีนสูง (โดยเฉพาะจากธัญพืช) วิตามินและเกลือแร่จากธรรมชาติเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายกล้วยก็ช่วยได้เพราะการทานกล้วยช่วยลดอาการเครียด  เพราะอาการเครียดมีผลทำให้เกิดเป็นโรคไทรอยด์ได้ เพราะกล้วยมีสารที่ช่วยลดแล็คติค เอซิด (Lactic Acid)
ควรหลีกเลี่ยง พวก ชา กาแฟ ซึ่งจะทำให้ร่างกายทำงานหนัก เพราะชา กาแฟ มีสารคาเฟอีนกระตุ้นทำให้ร่างกายทำงานหนักมากขึ้น เพราะคนที่เป็นไทรอยด์ สารไทรอยด์ทำงานผิดปกติอยู่แล้ว ร่างกายทำงานหนัก ถ้าเราไปทาน พวกกาแฟ หรือ ชา จะทำให้ร่างกายทำงานหนักไปด้วย ควรหลีกเลี่ยง ควรทาน
พวก ธัญพืชนานาชนิดแทนจะดีกว่า หรือ พวกน้ำสมุนไพร เช่น น้ำขึง,น้ำตะไคร้,ดอกคำฝอย แทน ก็จะช่วยเป็นทั้งยาและเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง สดชื่นได้เป็นอย่างดี
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น  กะหลำปลีดิบ ปลาร้า หน่อไม้ดอง กระถิน โดยเฉพาะปลาร้า ห้ามเด็ดขาด การมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ จะช่วยรักษาสมดุลจิตใจของคนที่ป่วยเป็นโรคไทรอยด์ได้ดี วิธีนี้ช่วยลดความวิตกกังวล และความฟุ้งซ่านได้
โดยเริ่มจากการรู้จักชื่นชมตัวเองและชื่นชมคนรอบข้าง ลองนึกถึงสิ่งดีๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตและรู้จักขอบคุณธรรมชาติควรพูดคุยระบายออกมากับครอบครัว หรือเพื่อนที่รู้ใจ โดยเฉพาะเพื่อนที่มีปัญหาเดียวกัน ซึ่งจะคอยรับฟังและดูแลซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี
หากิจกรรมทำ เช่น การเขียนไดอารี่ วาดภาพ อ่านหนังสือ หรือกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยทำให้จิตใจดีขึ้นกว่าการนั่งจมอยู่กับปัญหา ควรหาอะไรทำเพื่อไม่ให้จิตใจฟุ้งซ่าน ไม่ควรอยู่คนเดียวนาน เพราะจะชอบคิดเฝ้อเจ้อ แล้วจะทำให้เกิดความเครียดและจะส่งผลให้สารไทรอยด์ในตัวเปลี่ยนระดับได้
พยามทำตัวไม่ให้เครียด เพราะการเครียดนี้จะนำมาซึ่งโรคอีกหลายๆโรค หรืออาจจะนั่งสมาธิ จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานช้าลง เช่น ชีพจร การเต้นของหัวใจ การหายใจ ทำให้ปริมาณการใช้ออกซิเจน ตลอดจนการเผาผลาญในเลือดก็มีค่าลดลงเช่นกัน            
โดยคนที่มีระดับกรดแล็คติคมากเกินไป จะส่งผลให้มีอาการเครียด วิตกกังวล จนถึงขึ้นตื่นตระหนกทีเดียว และเมื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมองก็จะพบว่ามีคลื่นอัลฟ่า (Alfa Wave) ในสมองเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเป็นคลื่นที่ส่งผลทำให้จิตใจสงบ เพราะในสมองของคนเรามีสารสื่อประสาทหรือสารเคมีอยู่มากมาย หากสารบางอย่างลดน้อยหรือเพิ่มมากเกินไป ย่อมทำให้ระบบเสียสมดุล จนแสดงออกมาเป็นความผิดปกติต่างๆ ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ถ้า"ซีโรโตนิน" ลดน้อยลง คนนั้นจะมีอาการซึมเศร้า หดหู่ หรือถ้ามี "เอ็ปเป็บนิซิน" หรือ "นอร์เป็บนิซิน" มากเกินไป ก็จะมีอาการเครียด วิตกกังวล
การนั่งสมาธิจึงมีบทบาทอย่างหนึ่งในการช่วยปรับให้สารสื่อประสาทเหล่า นั้นกลับเข้าสู่ภาวะสมดุล และทำงานเป็นระบบ นอกจากนี้ สารเอ็นโดรฟินซึ่งเปรียบได้กับฝิ่นที่มีอยู่ในคนเรานั้นเอง ที่จะหลั่งออกมาเมื่อนั่งสมาธิได้ถึงระดับหนึ่ง ก็ยิ่งทำให้จิตใจเราเป็นสุข รู้สึกปีติ อิ่มเอิบ จึงคลายเครียดได้ดีร้อยเปอร์เซ็นต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น